สภาพทั่วไป

ที่ตั้ง

      เทศบาลตำบลนาเรือง ตั้งอยู่ หมู่ 7 ตำบลนาเรือง อำเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานี ครอบคลุมพื้นที่ ๑ ใน ๓ ตำบลในเขตอำเภอนาเยีย ห่างจากจังหวัดอุบลราชธานีประมาณ ๓๐ กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ ๖๐๘ กิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ ๙ หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ ๑ บ้านนาเรือง, หมู่ที่ ๒ บ้านม่วงคำ, หมู่ที่ ๓ บ้านหินลาด, หมู่ที่ ๔ บ้านโนนงาม, หมู่ที่ ๕ บ้านหนองกระบือ, หมู่ที่ ๖ บ้านแก้งยาง, หมู่ที่ ๗ บ้านนาเรืองน้อย, หมู่ที่ ๘ บ้านหินลาดน้อย, และ หมู่ที่ ๙ บ้านทุ่งศรีเมือง มีอาณาเขตพื้นที่อยู่ติดกับท้องถิ่นใกล้เคียง คือ ตำบลนาเยีย ตำบลนาส่วง

อาณาเขต

  • ทิศเหนือ จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
  • ทิศตะวันออก จรด ตำบลนาเยีย อำเภอนาเยีย
  • ทิศตะวันตก จรด ตำบลนาส่วง อำเภอเดชอุดม
  • ทิศใต้ จรด ตำบลเมืองเดช อำเภอเดชอุดม

ลักษณะภูมิประเทศ

      ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นที่ลาบสูงสลับที่ดอน อยู่ทิศใต้ของอำเภอนาเยียห่างประมาณ ๖ กิโลเมตร มีแม่น้ำสายหลักคือ ลำโดมใหญ่ และมีห้วย หนอง อยู่เป็นจำนวนมาก พื้นที่ส่วนใหญ่ราษฎรใช้ทำการเกษตร เช่น การทำนา ทำไร่ และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น และในห้วงฤดูแล้งได้ประกอบอาชีพเสริม คือ ทอผ้า รับจ้างทั่วไป ราษฎรส่วนใหญ่ที่อาศัยในเขตตำบลนาเรือง เดิม เป็นราษฎรที่อาศัยอยู่ที่ ตำบลนาส่วงและตำบลนาเยีย ซึ่งต่อมาได้ประกอบอาชีพทำนาและได้โยกย้ายมาอาศัยอยู่ที่ทุ่งนา และได้ก่อตั้งเป็นชุมชนใหม่ขึ้น จนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นตำบลนาเรือง

ลักษณะภูมิอากาศ

    มีลักษณะภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับร้อนแห้งแล้ง หรือฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดู ฤดูกาลมี ๓ ฤดู คือ

  • ฤดูฝน เริ่มประมาณเดือนพฤษภาคม หรือเดือนมิถุนายน และไปสิ้นสุดในเดือนตุลาคม
  • ฤดูหนาว เริ่มประมาณกลางเดือนตุลาคม ถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์เป็นระยะเปลี่ยนฤดูฝนมาเป็นฤดูหนาว
  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม

ลักษณะของดิน

      ลักษณะของดินในเขตตำบลนาเรือง เป็นที่ราบสูงสลับดอน พื้นที่ดินเป็นดินร่วนปนทรายเหมาะแก่การทำนาและทำไร่

ประชากร

          ประชากรในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เทศบาลตำบลนาเรือง ๙ หมู่บ้าน มีประชากรรวม ทั้งสิ้น ๖,๗๙๕ คน เป็นชาย ๓,๔๓๘ คน และหญิง ๓,๓๕๗ คน จำนวน ๒,๑๘๕ หลังคาเรือน ดังนี้

    หมู่ที่ ชื่อหมู่บ้าน ชาย หญิง ครัวเรือน
    บ้านนาเรือง ๓๓๕ ๓๔๓ ๑๙๔
    บ้านม่วงคำ ๒๑๓ ๑๖๙ ๑๒๘
    บ้านหินลาด ๓๘๗ ๓๘๖ ๑๒๐
    บ้านโนนงาม ๔๔๒ ๔๖๘ ๓๕๗
    บ้านหนองกระบือ ๔๑๙ ๓๘๕ ๒๑๒
    บ้านแก้งยาง ๒๓๗ ๒๔๙ ๑๙๙
    บ้านนาเรืองน้อย ๕๐๗ ๔๙๓ ๒๑๐
    บ้านหินลาดน้อย ๒๙๐ ๓๖๔ ๒๓๖
    บ้านทุ่งศรีเมือง ๕๐๘ ๕๐๐ ๒๐๙

          ที่มา : สำนักทะเบียนอำเภอนาเยีย (ข้อมูล ณ เดือน กันยายน พ.ศ. 2564)

    การศึกษา

          มีสถานศึกษาในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง ดังนี้

    1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลนาเรือง จำนวน ๔ แห่ง
    2. - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านนาเรือง

      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหินลาด

      - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโนนงาม

      -ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านแก้งยาง

    3. โรงเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน ๖ แห่ง
    4. - โรงเรียนบ้านนาเรือง

      - โรงเรียนบ้านม่วงคำ

      - โรงเรียนบ้านหินลาด

      - โรงเรียนบ้านโนนงาม

      - โรงเรียนบ้านหนองกระบือ

      - โรงเรียนบ้านแก้งยาง

    5. โรงเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน ๑ แห่ง
    6. - โรงเรียนบ้านนาเรือง

    สาธารณสุข

    1. โรงพยาบาลอำเภอนาเยีย จำนวน ๑ แห่ง
    2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนาเรือง จำนวน ๑ แห่ง
    3. ศูนย์สาธารณสุขมูลฐาน จำนวน ๙ แห่ง

    การคมนาคมขนส่ง

     เทศบาลตำบลนาเรือง มีเส้นทางการโทรคมนาคมที่สำคัญคือ

  • - มีถนนทางหลวงชนบทหมายเลข ๒๐๑๒ สายอำเภอนาเยีย - บ้านหนองสำราญ ตัดผ่านความยาว ๕ กิโลเมตร
  • - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๕๘ สาย
  • - ถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก/ลูกรัง จำนวน ๒๓ สาย
  • - ถนนลูกรัง/ดิน จำนวน ๖๖ สาย
  • - ถนนลาดยาง จำนวน ๑ สาย

การไฟฟ้า

          ในเขตเทศบาลตำบลนาเรือง มีไฟฟ้าเข้าถึงหมู่บ้านทั้ง ๙ หมู่บ้าน โดยประชากรใช้ไฟฟ้าคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ แต่ไฟฟ้าเพื่อการเกษตรยังไม่เพียงพอ

    ที่ สถานที่ จำนวน (จุด) หมายเหตุ
    บ้านนาเรือง ๓๘
    บ้านม่วงคำ ๓๑
    บ้านหินลาด ๔๘
    บ้านโนนงาม ๗๓
    บ้านหนองกระบือ ๗๔
    บ้านแก้งยาง ๔๔
    บ้านนาเรืองน้อย ๑๑๐
    บ้านหินลาดน้อย ๕๑
    บ้านทุ่งศรีเมือง ๔๙

          ที่มา : กองช่าง เทศบาลตำบลนาเรือง (ข้อมูล ณ เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2564)

    การเกษตร

          เกษตร สภาพทางเศรษฐกิจของเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น เป็นสภาพเศรษฐกิจแบบพึ่งพาตนเองเป็นหลัก กว่าร้อย ละ ๙๐ ประกอบอาชีพทางเกษตรกรรม อาศัยแหล่งน้ำจากธรรมชาติเป็นหลัก เช่น การทำนา การปลูกมันสำปะหลัง การปลูกยาพารา เป็นต้น หลังจากเสร็จสิ้นฤดูกาลเก็บเกี่ยวแล้วคนในพื้นที่ก็จะว่างงานเนื่องจาก ไม่มีอาชีพรองรับ ส่วนอีกร้อยละ 10 ประกอบอาชีพอื่น ๆ

    การปศุสัตว์

          เป็นการประกอบการในลักษณะเลี้ยงในครัวเรือนเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม เช่่น การ เลี้ยงไก่ เป็ด โค กระบือ

    การพาณิชย์และกลุ่มอาชีพ

    1. สถานีบริการน้ำมัน จำนวน ๓ แห่ง
    2. ตลาดสด จำนวน ๑ แห่ง
    3. ร้านค้าทั่วไป จำนวน ๗๐ แห่ง
    4. โรงฆ่าสัตว์ จำนวน ๑ แห่ง
    5. ธนาคาร จำนวน ๓ แห่ง
    6. สถานบริการเกี่ยวกับ Internet จำนวน ๒ แห่ง
    7. โรงสีข้าว ๑๖ แห่ง
    8. ร้านตัดผมชาย ๗ แห่ง
    9. ร้านเสริมสวย ๗ แห่ง
    10. มีมินิมาร์ท จำนวน ๒ แห่ง
    11. 7eleven จำนวน ๑ แห่ง
    12. เทสโก้โลตัส จำนวน ๑ แห่ง
    13. ร้านขายยา จำนวน ๒ แห่ง
    14. ร้านซ่อมรถ จำนวน ๑๔ แห่ง
    15. โรงเรือนเลี้ยงสุกร จำนวน ๑ แห่ง
    16. โรงเรือนตัดเย็บ จำนวน ๕ แห่ง
    17. ไปรษณีย์ จำนวน ๑ แห่ง
    18. ร้านรับซื้อของเก่า จำนวน ๑ แห่ง
    19. ร้านเบ็ดเตล็ด จำนวน ๒๖ แห่ง

    แรงงาน

         ราษฎรส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ ๙๐ ประกอบอาชีพทำการเกษตรกรรมได้แก่ทำนา ทำไร่ ทำสวน เป็นการประกอบอาชีพภายในครัวเรือน จึงไม่มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงาน หรือาจจะมีบ้างในช่วง ในฤดูการทำนาอาจจะใช้แรงงาน แรงงานโดยส่วนใหญ่เป็นแรงงานภาคการเกษตร

    การนับถือศาสนา

          ผู้นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ ๑๐๐ ของประชาชนทั้งหมดในเขตเทศบาล มีวัด ๕ แห่ง และสำนักสงฆ์ ๑ แห่ง

    ประเพณีและงานประจำ

    1. ประเพณีลอยกระทง เทศบาลได้จัดงานประเพณีลอยกระทงขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยจัดให้มีการแข่งกีฬาชนิดต่าง ๆ ในช่วงกลางวัน และการประกวดนางนพมาศ ประกวดกระทง การแสดงมหรสพ การแสดงของเด็กนักเรียน และมอบรางวัลต่าง ๆ ในช่วงกลางคืน
    2. งานบุญเลี้ยงบ้าน ประมาณเดือน พฤษภาคม ของทุกปี ทุกครอบครัวจะทำพิธี เซ่นไหว้ ดอนเจ้าปู่ ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เคารพ นับถือ มาตั้งแต่บรรพบุรุษ ก่อนการทำนา ไถ หว่าน ชาวบ้านจะจัดให้มีพิธีไหว้ บวงสรวง ซึ่งชาวบ้านเชื่อว่าผู้ที่ได้กระทำพิธีดังกล่าวแล้ว จะทำให้ข้าวในนาเจริญงอกงามดี จะได้ผลผลิตจากการทำนามากขึ้น ประชาชนมีความผาสุก อยู่ดี กินดี
    3. งานบุญมหาชาติพระเวสสันดร โดยเทศบาลจัดร่วมกับส่วนราชการ พ่อค้า ประชาชนในพื้นที่ เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์ สืบสาน ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น รวมทั้งงานเข้าพรรษางานทอดกฐิน , ประเพณีสงกรานต์ และงานบุญคุ้มต่าง ๆ
    4. ประเพณีบุญบั้งไฟ ในปีที่ผ่านมาเทศบาล ฯ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อเป็นการอนุรักษ์ประเพณีของไทยให้คงอยู่สืบไปชั่วลูกหลาน โดยจัดให้มีการแข่งขันการแข่งกลองเส็ง ขบวนแห่บ้องไฟ การฟ้อนรำ การแสดงตลกประกอบในขบวน การแข่งขันบั้งไฟ ในภาคกลางวัน การแสดงมหรสพ การมอบรางวัล ในภาคกลางคืน และได้รับความร่วมมือจากประชาชนในเขตเทศบาล เป็นอย่างดี

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาษาถิ่น

    1. ภูมิปัญญาท้องถิ่น ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ได้อนุรักษ์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น
    2. ท้องถิ่น ได้แก่ วิธีการทำเครื่องจักสานใช้สำหรับในครัวเรือน การใช้ประโยชน์และรักษาจากสมุนไพรพื้นบ้าน
    3. ภาษาถิ่น ภาษาไทยถิ่นอีสาน หรือ ภาษาลาวอีสาน เป็นภาษาท้องถิ่นที่ใช้พูดสำหรับการ สื่อสารเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น และใช้ภาษไทยสำหรับในการติดต่อราชการหรือกับหน่วยงานต่างของทางราชการ
    4. สินค้าพื้นเมืองและของที่ระลึก ประชาชนในเขตเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ได้ผลิตของใช้พื้นเมืองขึ้นใช้ในครัวเรือนและ เหลือเอาไว้จำหน่ายบ้าง ได้แก่ เครื่องจักรสานที่ทำจากไม้ไผ่

    คุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติ

    1. น้ำ ที่ใช้ในการอุปโภค-บริโภค ส่วนมากใช้จากแหล่งน้ำธรรมชาติ และน้ำจากระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อการอุปโภค บริโภค ซึ่งในช่วงฤดูแล้งบางหมูบ้านจะขาดแคลนน้ำ อุปโภค บริโภค ในช่วงเดือน มีนาคม-พฤษภาคม ของทุกปี เนื่องจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งเทศบาลตำบลกุดข้าวปุ้น ต้องจัดให้มีบริการรถน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตเทศบาล

Map

สารสนเทศ สถ.

หน่วยงาน สถ.

ลิงค์น่าสนใจ